องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด

Huayhinlad Subdistrict Administrative Organization

อำนาจหน้าที่


ออนไลน์ : 3

หัวข้อ :: อำนาจหน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที
การวิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.2537  และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าไปดาเนินการแก้ไขปัญหาในเขตพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนได้อย่างไร โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้  เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.2537 และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.1 จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้าและทางบก (มาตรา 67 (1))
1.2 ให้มีน้าเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร (มาตรา 68(1))
1.3 ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา 68(2))
1.4 ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้า (มาตรา 68 (3))
1.5 การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ (มาตรา 16(4))
1.6 การสาธารณูปการ (มาตรา 16(5))
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (มาตรา 67(6))
2.2 ปูองกันโรคและระงับโรคติดต่อ (มาตรา 67(3))
2.3 ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬาการพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (มาตรา 68(4))
2.4 การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา 16(10))
2.5 การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา 16(2))
2.6 การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน (มาตรา 16(5))
2.7 การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล (มาตรา 16(19))
 
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจ
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 การปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา 67(4))
3.2 การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (มาตรา 68(8)
3.3 การผังเมือง (มาตรา 68(13))
3.4 จัดให้มีที่จอดรถ (มาตรา 16(3))
3.5 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา 16(17))
3.6 การควบคุมอาคาร (มาตรา 16(28))
4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชย์กรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจ
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
4.1 ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว (มาตรา 68(6)
4.2 ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร และกิจการสหกรณ์ (มาตรา 68(5))
4.3 บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร (มาตรา 68(7))
4.4 ให้มีตลาด (มาตรา 68(10))
4.5 การท่องเที่ยว (มาตรา 68(12))
4.6 กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (มาตรา 68(11))
4.7 การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ (มาตรา 16(6))
4.8 การพาณิชย์กรรมและการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 16(7))
5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
5.1 คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา 67(7))
5.2 รักษาความสะอาดของถนน ทางน้า ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกาจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล (มาตรา 67(2))
5.3 การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ (มาตรา 17 (12))
6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
6.1 บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา 67(8)
6.2 ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (มาตรา 67(5))
6.3 การจัดการศึกษา (มาตรา 16(9))
6.4 การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น (มาตรา 17(18))
7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
7.1 สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา 45(3))
7.2 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจาเป็นและสมควร (มาตรา 67(9))
7.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎร ในการมีมาตรการปูองกัน (มาตรา 16(16))
7.4 การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 17(3))
7.5 การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้าที่เชื่อมต่อระหว่างองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (มาตรา 17(16))
 
ภารกิจทั้ง 7 ด้าน ตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนตำบล  สามารถจะแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาดได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  โดยคำนึงถึงความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ประกอบด้วยการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นสำคัญ
 
6. ภารกิจหลักและภารกิจรองที่ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาดจะดำเนินการ มีดังนี้
6.1 ภารกิจหลัก
6.1.1 ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
6.1.1 ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
6.1.2 ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
6.1.3 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.1.4 ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร
6.1.5 ด้านการส่งเสริมการศึกษา
6.1.6 ด้านการปูองกันและบรรเทาสาธารณภัย
6.2 ภารกิจรอง
6.2.1 การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณี
6.2.2 การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มอาชีพ
6.2.3 การส่งเสริมการเกษตรและการประกอบอาชีพทางการเกษตร
6.2.4 ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน
 
ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weak)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด มีพื้นที่ ครอบคลุม 12 หมู่บ้าน มีถนนสัญจรเข้าถึง ทุกหมู่บ้าน
2. พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เอื้อต่อการพัฒนา เนื่องจากเป็นที่ราบ การ สร้างเส้นทางคมนาคมทางบกทำได้สะดวก และเอื้อต่อการทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพ
 
 
 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1. ผู้บริหารมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกลในการพัฒนา
2. มีการพัฒนากระบวนการให้บริการอย่าง ต่อเนื่อง โดยมีการนำเครื่องมือและระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้การปฏิบัติงาน
 3. การเมืองมีเอกภาพส่งผลให้การดำเนินการ พัฒนาไปตามนโยบายของผู้บริหาร
 4. มีกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ท าให้สะดวก ในการประสานงานกับประชาชน
 
 
 
ด้านเศรษฐกิจ
1. ประชาชนในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากการเกษตรเพื่อการจำหน่าย อย่างยั่งยืน ได้แก่ กลุ่มทอ เสื่อกก
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด มีถนน ตรอก ซอย สำหรับการสัญจรภายใน หมู่บ้านจำนวนมากทำให้การดูแล ปรับปรุง แก้ไขปัญหาพื้นผิวถนน ไม่ทั่วถึง งบประมาณไม่เพียงพอในการ บริหารจัดการดูแลบำรุง รักษา
2. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น จำนวนถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ยังไม่เป็นปัจจุบันทำให้ยากต่อ การวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น
 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1. ประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใน บทบาท สิทธิและหน้าที่ของตนเองเพียงพอ และยังขาดความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วน ร่วมทางการเมือง การบริหาร และการ พัฒนาท้องถิ่น
 2.การบริการประชาชนยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง
3. ช่องว่างระหว่างการติดต่อและการบริการ ประชาชน
 4. บุคลากรขาดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ ส า ม า ร ถ ใ ช้ เ ท ค โ น โ ล ยี ที่ มี ใ ห้ เ กิ ดประสิทธิภาพสูงสุด
 5. ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
 
ด้านเศรษฐกิจ
1. น้ำไม่เพียงพอต่อการ ใช้สอยของประชาชนในพื้นที่
 2. พื้นที่เกษตรขาดความอุดมสมบูรณ์ ด้วย ปัญหาดินที่ใช้สำหรับทำการเกษตรเป็นดิน ร่วนปนทราย ไม่กักเก็บความชุ่มชื้น
 3. ประชาชนขาดความรู้ด้านการตลาดเพื่อการ กระจายสินค้า และการจัดจำหน่ายยังเป็น เพื่อการจำหน่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภายใน ชุมชนเท่านั้น
 
 
ปัจจัยภายนอก
โอกาส (Opportunity) อุปสรรค (Threat)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. มีนโยบายการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณตาม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
 2. มีระเบียบ กฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการ ปฏิบัติงาน
 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
 1. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ เป็น อย่างดี ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
 
ด้านเศรษฐกิจ
 1. นโยบายรัฐเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
 2. เส้นทางคมนาคมขนส่งที่สะดวก อยู่ใกล้ตัว อำเภอและเป็นเส้นทางหลักไปสู่หลาย จังหวัด ได้แก่ ยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 1. การให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ บางโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจาก ประชาชน จากความคิดเห็นและทัศนคติที่ ไม่ตรงกัน
2. ผังเมืองและการใช้ที่ดินไม่มีการวางแผน และผังเมืองอย่างเป็นระบบชัดเจน
3. ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึง
 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
 1. นโยบายจากส่วนกลางขาดความต่อเนื่อง
 2. มีการถ่ายโอนภารกิจแต่ไม่ถ่ายโอน งบประมาณ
 3. มีระเบียบกฎหมายในการกำกับการ ปฏิบัติงานมาก ทำให้การดำเนินงานล่าช้า และขาดความคล่องตัว
 
 ด้านเศรษฐกิจ
 1. ปัญหาความแห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง
 
วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ภายนอก (SWOT) 
ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด (ระดับองค์กร)
 
จุดแข็ง   S
1. บุคลากรมีความรักถิ่นไม่ต้องการย้าย
2. การเดินทางสะดวกทำงานเกินเวลาได้
3. ชุมชนยังมีความคาดหวังในตัวผู้บริหารและการ
    ทำงาน และ อบต.ในฐานะตัวแทน
4. มีการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร
5. ให้โอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรภายในองค์กรอย่างเสมอภาคกัน
6. ส่งเสริมให้มีการนำความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่ได้จากการศึกษาและฝึกอบรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน
 
จุดอ่อน   W
1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านทางวิชาชีพ
2. พื้นที่พัฒนากว้าง ปัญหามากทำให้บางสายงานมีบุคลากรไม่เพียงพอหรือไม่มี
3. อาคารสำนักงานคับแคบ
 
 
วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ภายนอก (SWOT)
ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหินลาด  (ระดับองค์กร)
จุดแข็ง S
1. บุคลากรมีความรักถิ่นไม่ต้องการย้าย
2. การเดินทางสะดวกทางานเกินเวลาได้
3. ชุมชนยังมีความคาดหวังในตัวผู้บริหารและการ
ทางาน และ อบต.ในฐานะตัวแทน
4. มีการส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมบุคลากร
5. ให้โอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าของบุคลากรภายในองค์กรอย่างเสมอภาคกัน
6. ส่งเสริมให้มีการนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่ได้จากการศึกษาและฝึกอบรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน
จุดอ่อน W
1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านทางวิชาชีพ
2. พื้นที่พัฒนากว้าง ปัญหามากทาให้บางสายงานมีบุคลากรไม่เพียงพอหรือไม่มี
3. อาคารสานักงานคับแคบ
โอกาส O
1. ประชาชนให้ความร่วมมือในการพัฒนา อบต.ดี
2. มีความคุ้นเคยกันทุกคน
3. บุคลากรมีถิ่นที่อยู่กระจายทั่วเขต อบต. ทาให้รู้ สภาพพื้นที่ ทัศนคติของประชาชนได้ดี
4. บุคลากรมีการพัฒนาความรู้ปริญญาตรี /ปริญญาโทเพิ่มขึ้น
5. ผู้บริหารและผู้บังคับบัญชาตามสายงานมีบทบาทในการช่วยให้บุคลากรบรรลุเป้าประสงค์
ข้อจากัด T
1. มีระบบอุปถัมภ์และกลุ่มพรรคพวกจาก ความสัมพันธ์แบบเครือญาติในชุมชน การ ดาเนินการทางวินัยเป็นไปได้ยากมักกระทบญาติพี่น้อง
2. ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญบางสายงานความรู้ที่มีจากัดทาให้ต้องเพิ่มพูนความรู้ให้หลากหลายจึงจะทางานได้ ครอบคลุมภารกิจ ของ อบต.
3. งบประมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ จานวนประชากร และภารกิจ
 
 
 
วันที่ : 14 ธันวาคม 2560   View : 1061